ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) ใกล้พัง อาการเป็นอย่างไร ? กับ 5 สัญญาณเตือน

1. มีเสียงดังผิดปกติขณะทำงาน

เริ่มกันที่สัญญาณแรก สำหรับคนที่ใช้ฮาร์ดดิสก์รูปแบบจานหมุนส่วน (HDD) ใหญ่ ฮาร์ดดิสก์ประเภทนี้ จะมีเสียงอยู่แล้ว แต่ไม่ดังมากเวลาใช้งาน แต่เมื่อใดที่เราได้ยินเสียงดังผิดปกติ เช่น เสียงดังกึกๆ แกร่กๆ เสียงเสียดสีแบบที่ไม่ได้ยินมาก่อน ควรระวังให้ดี เพราะภายในฮาร์ดดิกส์อาจจะได้รับความเสียหาย จากการตก หรือ การกระแทก โดยไม่ทันได้ระวังตัว

2. เกิดข้อมูลหาย หาข้อมูลไม่เจอ

ใช้งานอยู่ จู่ๆ ข้อมูลที่เก็บอยู่ในเครื่อง หรือ โฟลเดอร์ ไฟล์ต่างๆ ก็หายไปแบบไร้ร่องรอย ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ สัญญาณแบบนี้อาจจะเป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บ่งบอกว่าอุปกรณ์ของเราใกล้พัง (ถ้าไม่ใช่จากสาเหตุไวรัส)ซึ่งรูปแบบการทำงานของอุปกรณ์เก็บข้อมูลนั้นจะถูกแบ่งพื้นที่เก็บข้อมูลเป็น Block ย่อยๆ และเป็น Sector ซึ่งถ้าเกิดปัญหาแบบนี้อาจจะแปลว่าพื้นที่การเก็บข้อมูลมี Bad Sector อยู่ ทำให้ข้อมูลหาย หรือ หาข้อมูลไม่เจอได้ เป็นอาการของฮาร์ดดิสก์ที่ใกล้พัง เนื่องจากการเสียหายของพื้นที่เก็บข้อมูลเมื่อใดที่เราเจออาการข้อมูลหาย ไฟล์เริ่มไม่ครบ ให้เราทำการสำรองข้อมูลโดยด่วน ก่อนที่จะสาย แนะนำว่าเราควรใช้อุปกรณ์สำรองข้อมูลด้วยฮาร์ดดิสก์ (HDD) ตัวใหม่ หรือฝากไฟล์ผ่านระบบออนไลน์ Cloud Service และไม่ควรใช้ USB Flash Drive ในการสำรองข้อมูลที่สำคัญ เนื่องจากกู้คืนข้อมูลได้ยาก

3. ใช้เวลานานผิดปกติระหว่างเปิดเครื่องและทำงาน

หากเครื่องของเราใช้เวลานานผิดปกติระหว่างเปิดเครื่องและใช้งาน นั่นอาจจะเป็นสัญญาณเสี่ยง หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ดังนั้นเราควรดูแลและตรวจสอบฮาร์ดดิสก์และอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆ ของเราให้ละเอียดมากขึ้นปัญหานี้อาจจะเกิดได้จากหลายๆ สาเหตุ ทั้งเรื่องซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการ หรือ ข้อมูลต่างๆ นั้นมีเยอะเกินไป ทำให้เครื่องทำงานช้าได้ แต่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ทางที่ดีควรตรวจสอบและ  เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องทำงานช้าไม่ได้เกิดจากฮาร์ดดิสก์ของเราเอง

4. ไดร์ฟบูต (Boot) เครื่องหาย ขึ้นจอดำ

ผู้ใช้งานอาจจะเคยเจอปัญหานี้มาก่อน เมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาก็เจอกับหน้าจอดำ ตามมาด้วยตัวหนังสือ แต่สังเกตคำว่า No bootable device นั่นหมายความว่าคอมพิวเตอร์ของเราหาไดร์ฟสำหรับบูทเครื่องไม่เจอ

5. เครื่องแฮงค์ และ ขึ้นจอฟ้าบ่อย

ปัญหาที่พบได้บ่อย จอฟ้าแห่งความตาย (Bluescreen of death) นี้เป็นปัญหาที่เกิดจากความผิดปกติของซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ภายในเครื่อง อาจจะเกี่ยวโยงไปถึงปัญหาฮาร์ดดิสก์พังตามที่บอกได้

ขึ้นอยู่กับสาเหตุ Error ที่เจอ ส่วนปัญหา Bluescreen ที่เกี่ยวกับฮาร์ดดิสก์ ยกตัวอย่างเช่นโค้ด “0x00000024” หรือที่รู้จักกันในชื่อ “NTFS_FILE_SYSTEM” นั้นเป็นผลมาจากไฟล์ข้อมูลบนฮาร์ดิสก์มีความเสียหาย ทำให้เครื่องเกิดอาการแฮงค์ เมื่อเปิดเครื่องมาอีกครั้งควรใช้หน้าต่าง cmd และพิมพ์คำสั่ง chkdsk เพื่อตรวจเช็คอาการ เบื้องต้นดู

ผู้เขียน

ถาวร หงษ์ทอง
ฝ่ายปฏิบัติการและบริการ
สำนักคอมพิวเตอร์
tavorn@g.swu.ac.th