จากที่สำนักคอมพิวเตอร์ ปรับเปลี่ยนกระบวนการการยื่นใบลา เดิมต้องพิมพ์ใบลาเป็นกระดาษและลงนาม มาเป็นการลงนามและส่งด้วยไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ รูปแบบไฟล์ PDF
ปกติจะ Insert เป็นไฟล์ภาพทุกครั้งในส่วนที่จะต้องลงนาม ปัญหาอยู่ที่ลืมว่าไฟล์ภาพลายเซ็นของเรา เก็บอยู่ที่ส่วนใดของเครื่องตัวเอง และทุกครั้งในการยื่นใบลาจะต้อง Insert ภาพแบบนี้ตลอด ไม่สะดวกต่อการใช้งาน
ผู้เขียนจึงมีวิธีการ Insert ลายเซ็นและบันทึกลายเซ็น ใน Microsoft Word ด้วยการใช้ฟีเจอร์ Quick Parts ของ Microsoft Word
ข้อสังเกต
- ฟีเจอร์ Quick Parts ของ Microsoft Word จะสามารถใช้ได้กับเวอร์ชันที่ติดตั้งบนเครื่องเท่านั้น ได้แก่ Word for Microsoft 365, Outlook for Microsoft 365, Word 2021, Outlook 2021, Word 2019, Outlook 2019, Word 2016, Outlook 2016, Word 2013, Outlook 2013, Word 2010, Outlook 2010.
- ไม่สามารถใช้งานได้กับ Microsoft 365 apps หรือ ออนไลน์ได้
ขั้นตอน ดังนี้
1. เปิดไฟล์ที่จะลงนามลายเซ็น
![](https://km.cc.swu.ac.th/wp-content/uploads/2025/01/21-1-1024x687.png)
2. Insert ไฟล์ภาพลายเซ็น
![](https://km.cc.swu.ac.th/wp-content/uploads/2025/01/22-1024x690.png)
3. ปรับขนาดภาพตามที่ต้องการ
![](https://km.cc.swu.ac.th/wp-content/uploads/2025/01/23-1-1024x694.png)
4. ใช้เมาส์เลือกรูปภาพลายเซ็นแล้ว ไปที่เมนู Insert > Quick Parts เลือก Save Selection to Quick Part Gallery…
![](https://km.cc.swu.ac.th/wp-content/uploads/2025/01/24-1024x604.png)
5. หน้าต่าง Create New Building Block ปรากฎขึ้น
– ตั้งชื่อที่ช่อง Name
![](https://km.cc.swu.ac.th/wp-content/uploads/2025/01/25-1024x611.png)
![](https://km.cc.swu.ac.th/wp-content/uploads/2025/01/26.png)
6. เมื่อคลิกปุ่ม Ok จะได้ภาพลายเซ็นแสดงที่ส่วนของ Quick Parts Gallery
![](https://km.cc.swu.ac.th/wp-content/uploads/2025/01/26_2-1024x595.png)
7. เมื่อปิดไฟล์ หรือออกจาก Microsoft Word จะปรากฎหน้าต่าง
![](https://km.cc.swu.ac.th/wp-content/uploads/2025/01/29.png)
8. คลิกปุ่ม Save เพื่อใช้งานในครั้งต่อไป โดย Building Block ที่เราตั้งค่าไว้จะบันทึกภายในไฟล์ชื่อ Building Blocks.dotx
(กรณีที่ต้องการใช้ฟีเจอร์นี้ในเครื่องอื่น จะต้องตั้งค่าใหม่แต่ต้น)
![](https://km.cc.swu.ac.th/wp-content/uploads/2025/01/28-1024x340.png)
ตามลำดับข้างต้น เราสามารถใช้ Building Block ตามที่กำหนดเองได้
เพิ่มเติม เราสามารถจัดการ Quick Part ของเราได้ที่เมนู Building Blocks Organizer…
![](https://km.cc.swu.ac.th/wp-content/uploads/2025/01/31.png)
หน้าต่าง Building Blocks Organizer ปรากฎ เราสามารถเรียงตาม Name ได้ กรณีที่ตั้งชื่อ Building Blocks เป็นภาษาไทย จะเรียงลำดับอยู่ล่างสุดเสมอ และเรียงตามตัวพยัญชนะ
![](https://km.cc.swu.ac.th/wp-content/uploads/2025/01/33.png)
- Edit Properties… : แก้ไขชื่อ / กำหนด Gallery / กำหนดประเภทได้ / …
- Delete : การลบออกจาก Building Block
- Insert : การเพิ่ม Building Block ในเนื้อหาที่ต้องการ
เราสามารถนำฟีเจอร์นี้ไปประยุกต์ใช้งานกับเนื้อหาที่ต้องใช้งานบ่อย ๆ ได้ เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการทำเอกสาร
ผู้เขียนหวังว่าวิธีการนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านทุกท่านค่ะ 🙂