Laravel Framework คืออะไร พร้อมทั้งการติดตั้ง Laravel Framework เวอร์ชัน 11 บนระบบปฏิบัติการ Windows

Laravel Framework คืออะไร

Laravel เป็น PHP Framework ตัวหนึ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นต่างๆ โดยผู้พัฒนาคือ นาย Taylor Otwell ภายใต้ลิขสิทธิ์ของ MIT ใช้สำหรับการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันตามรูปแบบ Model-View-Controller (MVC) มีฟีเจอร์ที่ช่วยให้การพัฒนาเว็บสามารถทำให้ได้ง่ายขึ้น เช่น การจัดการ Sessions, การตรวจสอบข้อมูล เป็นต้น รวมทั้งยังสนับสนุนการนำส่วนประกอบที่มีอยู่ของเฟรมเวิร์กต่างๆ มาใช้ซ้ำ ซึ่งเป็นไปตามหลักการพัฒนาโปรแกรมแบบ OOP (Object-Oriented Programming) ทำให้การเขียนโค้ดของเรานั้นดูสะอาด สามารถอ่านและแก้ไขได้ง่ายด้วยการใช้งาน นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานร่วมกับ Composer ได้ ทำให้โปรแกรมเมอร์พัฒนา PHP Application ได้อย่างสบายใจมากยิ่งขึ้น เช่น การติดตั้งแพ็กเกจต่างๆก็สามารถทำได้เพียงแค่ป้อนคำสั่งทาง Artisan CLI (Artisan Command Line Interface) แล้วกด Enter จากนั้นก็รอจนกว่าจะสมบูรณ์ก็สามารถใช้งานแพ็กเกจที่ได้ติดตั้งไว้ได้อย่างราบรื่น

การติดตั้ง Laravel Framework เวอร์ชัน 11 บนระบบปฏิบัติการ Windows

ก่อนติดตั้ง Laravel Framework จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมดังนี้

  • เว็บเซิร์ฟเวอร์ Apache หรือ NginX
  • โปรแกรมภาษา PHP
  • โปรแกรม Composer
  • extension fileinfo ของภาษา PHP
  • โปรแกรม Node.js
  • โปรแกรมฐานข้อมูล MySQL, MariaDB, PostgreSQL หรือ SQLite ในที่นี้เลือกใช้ฐานข้อมูล MariaDB

การสร้างฐานข้อมูลใหม่ด้วยโปรแกรม MariaDB

1. Double-Click ที่ไอคอน HeidiSQL บน Desktop

2. คลิกที่ปุ่ม New

3. กรอกรหัสผ่านที่ได้ตั้งไว้ตอนติดตั้ง MariaDB รวมทั้งกรอกชื่อ IP address ของเครื่อง แล้วคลิกที่ปุ่ม Open

4. คลิกขวาที่ Unnamed แล้วเลือกเมนู Create new -> Database

5. กรอกชื่อฐานข้อมูลที่ต้องการสร้าง แล้วกดปุ่ม OK เพื่อเสร็จสิ้นการสร้างฐานข้อมูล

วิธีติดตั้ง Laravel

1. เปิดโปรแกรม Terminal ขึ้นมา

2. คลิกที่หัวลูกศรชี้ลง แล้วคลิกเลือก Command Prompt

3. พิมพ์คำสั่งไปที่ไดเรกทอรี่ที่ต้องการติดตั้งแอพพลิเคชัน

4. พิมพ์คำสั่ง composer global require laravel/installer

5. พิมพ์คำสั่ง laravel new news-items ถ้า news-items เป็นชื่อโปรเจ็กต์ที่ต้องการสร้างขึ้นมา

6. เมื่อหน้าจอขึ้นข้อความ Would you like to install a starter kit? ให้พิมพ์คำว่า none เพื่อไม่ต้องการติดตั้งตัว starter kit ใดๆ

7. ต่อมาเมื่อหน้าจอขึ้นข้อความ Which testing framework do you prefer? ให้พิมพ์หมายเลข 1 เพื่อเลือก testing framework ชื่อ PHPUnit

8. ต่อมาหน้าจอจะขึ้นข้อความที่ว่า ต้องการนำโปรเจ็กต์นี้ขึ้นบน Git repository หรือไม่ ให้พิมพ์ no

9. โปรแกรมจะติดตั้ง laravel framework ที่ไดเรกทอรี่ที่ผู้ติดตั้งใช้อยู่

10. เลือกฐานข้อมูลที่ต้องการติดต่อ ให้พิมพ์ mysql เพื่อเลือกใช้ฐานข้อมูล MySQL

11. หน้าจอจะถามว่า ต้องการ migrate ฐานข้อมูลตอนนี้หรือไม่ ให้พิมพ์ no

12. เปิดโปรแกรม Visual Studio Code ขึ้นมา

13. ให้ import ไดเรกทอรี่ของโปรเจ็กต์ที่ได้สร้างขึ้น

14. แก้ไขไฟล์ .env ในส่วน DB_DATABASE เป็นชื่อฐานข้อมูลที่ได้สร้างขึ้นไว้ พร้อมทั้งแก้ไขในส่วน DB_PASSWORD ให้เป็นรหัสผ่านที่ได้กำหนดไว้ตอนติดตั้ง MariaDB ดังรูป แล้วบันทึกไว้ในชื่อเดิม

15. แก้ไขไฟล์ /config/database.php ให้ส่วน DB_DATABASE เป็นชื่อฐานข้อมูลที่ได้สร้างไว้ และส่วน DB_PASSWORD เป็นรหัสผ่านที่ได้กำหนดไว้ตอนติดตั้ง MariaDB ดังรูป

16. พิมพ์คำสั่ง cd news-items เพื่อเข้าไปที่โปรเจ็กต์ที่ได้สร้างไว้

17. พิมพ์คำสั่ง php artisan migrate เพื่อ migrate ฐานข้อมูลที่ได้สร้างไว้

18. พิมพ์คำสั่ง php artisan serve เพื่อรันโปรเจ็กต์

19. เปิดโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ขึ้นมา

20. พิมพ์ URL เป็น http://127.0.0.1:8000 แล้วกดปุ่ม Enter

21. หน้าเว็บบราวเซอร์จะแสดงหน้าจอดังนี้ แสดงว่าคุณได้ติดตั้ง laravel framework เสร็จสมบูรณ์แล้ว

ผู้เขียน

ปวรุตม์ พงศ์พฤฒานนท์
ฝ่ายระบบสารสนเทศ
สำนักคอมพิวเตอร์
pavarudh@g.swu.ac.th