การเขียนคำสั่ง make:Controller ใน Command บน Laravel

รูปแบบการเขียนคำสั่ง

php artisan make:controller <ชื่อController>

เป็นคำสั่งที่ใช้สร้างไฟล์คลาส Controller  ในโฟลเดอร์ app/Http/Controllers ของโปรเจค

ตัวอย่าง php artisan make:controller ProductController

นอกจากคำสั่งที่ใช้ Controller ดังกล่าว ยังมี Option เพื่อใช้กำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมตรงตามความต้องการ

รูปแบบการเขียนคำสั่ง

php artisan make:controller <ชื่อController> <Option>

โดยจะมี Option ได้แก่

–resource หรือ -r

สร้าง Controller ที่มีเมธอด (Method) ของ Resource Controller เตรียมไว้ให้ใช้งาน ได้แก่  index() ,  create() , store() , show($id) , edit($id), update($id) , และ destroy($id)  

ตัวอย่างคำสั่ง :      php artisan make:controller Product -r

หรือ                         php artisan make:controller Produc –resource

–model หรือ -m

ระบุ Model ที่ต้องการให้ Controller ทำการเชื่อมต่อกับ Model ตามที่ระบุ เพื่อเรียกใช้งานฟังก์ชันของ Model

ตัวอย่างคำสั่ง :      php artisan make:controller Product –model=Product

หรือ                         php artisan make:controller Produc -m=Product

คำอธิบาย : สร้างไฟล์ Controller จะเป็น ProductController.php และเชื่อมต่อกับโมเดล Product

–help

แสดงคำแนะนำการใช้คำสั่งของ php artisan make:controller

ตัวอย่างคำสั่ง :      php artisan make:controller Product –help

หรือ อีกวิธีที่ไม่ต้องการใช้คำสั่ง artisan ผ่าน command โดยสามารถเลือกเมนู new file เพื่อเพิ่มไฟล์ Controller ในโฟลเดอร์ app/Http/Controllers

ผู้เขียน

Sinnapa Prasith-Rathsint
sinnapa@g.swu.ac.th