การพัฒนาระบบการลงทะเบียน เข้าร่วมงาน WUNCA ครั้งที่ 45

WUNCA ย่อมาจาก “Workshop on UniNet Network and Computer Application” หรือ การประชุมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา เป็นการประชุมที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาในประเทศไทย WUNCA จัดขึ้นโดย UniNet ซึ่งเป็นเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา การประชุมนี้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้เข้าร่วมการบรรยาย การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ และการนำเสนอผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการประยุกต์ใช้ในบริบทของการศึกษา

งาน WUNCA ครั้งที่ 45 นี้จัดขึ้นโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เป็นเจ้าภาพการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา” ครั้งที่ 45

งานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 – 5 กันยายน 2568 ณ มศว ประสานมิตร กรุงเทพมหานคร

ภายใต้แนวคิด

การพัฒนาระบบลงทะเบียนเข้าร่วมงาน WUNCA ครั้งที่ 45 นี้ พัฒนาโดยฝ่ายระบบสารสนเทศ สำนักคอมพิวเตอร์

พัฒนาระบบโดยใช้วงจรการออกแบบและพัฒนาระบบ แบบ Software Development Life Cycle (SDLC) ในการพัฒนางาน

ขั้นตอน SDLC
– Requirement Analysis: การวิเคราะห์ความต้องการ
– Design: การออกแบบ
– Development: การพัฒนา
– Testing: การทดสอบ
– Deployment: การนำไปใช้งาน
– Maintenance: การบำรุงรักษา

การวิเคราะห์ความต้องการ

ทีมเก็บรวมรวมความต้องการ โดยเริ่มจากการศึกษาและทำความเข้าใจจากเอกสาร ระบบงานเดิม สอบถามผู้เข้าร่วมงานประชุมในครั้งก่อน และเข้าร่วมประชุมเก็บความต้องการกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกส่วน

การวางแผนการพัฒนาระบบ

เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบ

จากภาพด้านล่าง จะเห็นว่า ในขั้นตอนการดำเนินงานต่าง ๆ AI มีส่วนช่วยให้การดำเนินการและพัฒนาระบบเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ช่วยลดระยะเวลาในทำงานได้

ตัวอย่างการออกแบบเว็ปแอปพลิเคชัน ส่วน Front-end

ทีมเลือกใช้ Gemini (Canvas) เพื่อช่วยการจัดวาง Layout เว็บไซต์

ข้อสังเกต: ในการเขียนคำสั่ง Prompt หากเรามี Keyword ของ Tools หรือ Library ที่ทีมเลือกใช้ ให้ระบุไปใน Prompt เพื่อให้ AI ช่วย Generate Code ในการทำงานที่ตอบโจทย์ที่สุด

ในส่วนของการจัดวาง Layout เลือกใช้ Bootstrap Framework และมีการปรับแต่ง Stylesheet (CSS) เฉพาะสำหรับระบบนี้ เพื่อให้เข้ากันกับธีมแนวคิดที่ทีมกราฟิกออกแบบภายใต้แนวคิด

ด้านเว็ปแอปพลิเคชัน

ทั้งส่วน Front-end และ Back-end ใช้ Laravel Framework ในการพัฒนา

การพัฒนาเว็บเชื่อมต่อระบบฐานข้อมูล

เลือกแบบ Code first โดยใช้ฟีเจอร์ของ Laravel

อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความคุณสินนภา การสร้างข้อมูลจำลองด้วย Factory ใน Laravel

การติดตั้งและใช้งานระบบ

  1. ฟังก์ชันและบทบาทผู้ใช้งาน

2. ขั้นตอนการทำงานของระบบ

2.1 ผู้สนใจสมัครสมาชิก

2.2 การตรวจสอบและพิจารณาเอกสารหลักฐานการอนุมัติ

2.3 เมื่อได้รับอนุมัติเข้าร่วมงาน สมาชิกสามารถสมัครอบรมได้

2.4 วันงาน ผู้เข้าร่วมงาน รายงานตัว ณ จุลงทะเบียน

การเผยแพร่ความรู้ ผ่านกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปฏิบัติงาน ที่ประชุมคณะกรรมการผู้บริหารและบุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ เดือนกรกฎาคม 2568

ผู้เขียน

Amornrat Uamanasakul
ฝ่ายระบบสารสนเทศ
สำนักคอมพิวเตอร์
amornratu@g.swu.ac.th